วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กติกากรีฑา



ประเภทลู่



1. ประเภทวิ่ง 100ม.,200ม.,400ม.,ข้ามรั้ว 100ม.,ข้ามรั้ว 110ม.
2. ประเภทวิ่ง 400ม.,800 ม.,วิ่งผลัด 4×100ม.,วิ่งผลัด 4×400ม.
3. ประเภท 1,500ม.
4. ประเภท 3,000ม.,วิ่งวิบาก 3,000ม.
5. ประเภท 5,000 ม.
6. ประเภท 10,000ม.




การแข่งขันวิ่งผลัด
1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง 20ม. โดยถือไม้คทาเป็นเกณฑ์ไม่เกี่ยวกับขา แขน ลำตัวของนักกีฬา
2. การแข่งขันวิ่งผลัด 4×200ม. นักกีฬาคนที่ 1และ2  จะต้องวิ่งช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 3
จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทั่งถึงเส้นตัด (เส้นโค้งแรกประมาณ 120 ม.)
3. การแข่งขันวิ่งผลัด 4×400 ม. คนที่ 1 วิ่งในช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 2 วิ่งในช่องวิ่งของตน
เองจนระทั่งถึงเส้นตัด ซึ่งอยู่ในแนวเส้นชัย คนที่ 3 และ 4 จะยืนคอยรับในเขตรับระยะรวมเท่านั้น
เมื่อนักกีฬาทีมใดวิ่งมาถึงจุด 200 ม.ก่อน ทีมนั้นจะสามารถยืนคอยรับคทาจากด้านในของลู่วิ่ง
เรียงตามลำดับออกมา
4. ถือไม้คทาด้วยมือตลอดการแข่งขัน หลังส่งไม้คทาแล้วควรอยู่ในช่องวิ่งของตนเองหรือภายใน
เขตรับส่งจนกว่าทางวิ่งจะไม่มีนักกีฬา
5. สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้ 2 คนจะต้องมีรายชื่อในการแข่งขันครั้งนั้น
6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4×100 ม.,4×400 ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน 5 ทีมให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียว
แล้วตัดเข้าช่องในได้



การแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว
นักกีฬาจะต้องวิ่งข้ามรั้วทั้งหมด 10 รั้ง ตลอดระยะทางการแข่งขัน
สิ่งต้องห้าม วิ่งข้ามรั้วเพียงขาข้างเดียว และห้ามใช้มือผลักดันรั้วหรือใช้ขาเจตนาถีบรั้วให้ล้ม





การแข่งขันประเภทลาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. การแข่งขันประเภทกระโดด กระโดดสูง,เขย่งก้าวกระโดด,กระโดดสูง,กระโดดค้ำถ่อ
2. การแข่งขันประเภททุ่ม พุ่ง ขว้าง ทุ่มน้ำหนัก,ขว้างจัก,ขว้างฆ้อน,พุ่งแหลน

กติกาการแข่งขันกระโดดไกล
การแข่งขัน นักกีฬากระโดดในขั้นที่ดีที่สุดของแต่ละคน จะถือเป็นสถิติ รวมทั้งตัดสินเสมอ
กันของอันดับที่ 1 ด้วย นักกีฬากระโดดลงในบ่อทรายแล้วต้องออกไปข้างหน้าหรือด้านข้างเท่านั้น



กติกาการแข่งขันเขย่งก้าวกระโดด
ประกอบด้วยเขย่ง การก้าว และการกระโดด การเขย่งจะต้องใช้เท้าเดียวกับที่เหยียบกระดานลงสู่พื้น ดังวิดีโอข้างล่าง




กติกาการกระโดดสูง
จะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว สามารถกระโดดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง จะหมดสิทธิ์ในการแข่ง
ขันความสูงต่อไป นักกีฬาที่ชนะเลิศสามารถเลือกความสูงได้ตามต้องการ



กติกาการแข่งกระโดดค้ำถ่อ
หากกระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้งถือว่าหมดสิทธิ์ ห้ามใช้ผ้ายางพันมือหรือนิ้วมือ ยกเว้นบาดเจ็บ
การแข่งขันในขั้นที่ดีที่สุดถือว่าเป็นสถิติ



กติกาการแข่งขันทุ่มน้ำหนัก
  • นักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า 8 คน การแข่งขันคนละ 3 ครั้ง ผู้ทำสถิติดีที่สุดทำการแข่งขันรอบสุดท้ายถ้าไม่เกิน 8 คน คนละ 6 ครั้ง
  • ทำการฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
  • ต้องทุ่มภายในบริเวณวงกลม
  • ลูกน้ำหนักต้องทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว โดยลูกน้ำหนักต้องสัมผัสหรืออยู่ชิดคางและมือต้องไม่ลดต่ำกว่าไหล่เลยไปด้านหลัง ขณะจะทุ่มลูกน้ำหนักออกไป
  • การฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมเพื่อทำการทุ่มแล้วสัมผัสภายนอกวงกลมหรือขอบบนของไม้ขวางหรือขอบบนไม้ขวางหรือขอบบนของวงกลม
  • จะต้องวางอุปกรณ์ไว้ด้านนอกหรือภายในวงกลมแล้วเดินออกด้านหลัง
  • ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ
  • ห้ามสวมถุงมือและสามารถใช้สารทามือได้
  • สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกได้
  • ห้ามฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า
  • ลูกน้ำหนักต้องอยู่ภายในเส้นรัศมี และต้องไม่ออกจากวงกลมจนกว่าลูกทุ่มน้ำหนักจะตกถึงพื้น





กติกาการขว้างจักร
  • จักรจะต้องตกภายในเส้นรัศมีห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรจะตกถึงพื้นครั้งแรกสมบูรณ์แล้ว
  • ต้องไม่ฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า
  • ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ
  • สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกได้
  • จักรที่ขว้างออกไปแล้ว ห้ามขว้างกลับมาให้ถือกลับมาที่วงกลม
  • ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรถึงเส้น





กติกาการขว้างฆ้อน
  • ฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2ครั้ง
  • การขว้างเริ่มจากในวงกลมเมื่อเหวี่ยงสัมผัสพื้นดิน หรือขอบของวงกลมจะไม่ถือว่าฟาล์ว แต่ถ้าหลังจากสัมผัสพื้นดินหรือขอบเหล็กแล้วเขาหยุดการหมุนจะถือว่าฟาล์ว
  • เมื่อเข้าไปในวงกลม ห้ามสัมผัสพื้นดินนอกหรือขอบวงกลมจะถือว่าฟาล์ว
  • ถ้าเกิดหลุดหรือขาดกลางอากาศไม่ถือว่าฟาล์ว และถ้าเสียหลักจนเกิดการฟาล์วการประลองครั้งนั้นไม่นับเช่นกัน
  • ตัวฆ้อนต้องตกภายในรัศมีห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าฆ้อนจะตกถึงพื้น
  • อุปกรณ์ที่ขว้างไปแล้วห้ามขว้างกลับให้ถือกลับมา





กติการพุ่งแหลน
  • ต้องจับตรงที่จับ การพุ่งจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่หรือเหนือแขนท่อนบน ห้ามใช้วิธีเหวี่ยงหรือขว้าง หรือมุ่งด้วยท่าพลิกแพลงอื่น ๆ
  • การที่หัวแหลนที่เป็นโลหะไม่ได้ถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆของแหลนถือว่าการแข่งขันไม่มีผล
  • ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลายของส่วนโค้งถือว่าการแข่งขันไม่ได้ผล
  • หากแหลนหักในระหว่างพุ่งให้ทำการแข่งขันใหม่
  • แหลนพุ่งแล้วห้ามพุ่งกลับ




กติกาการแข่งขันเดิน

ลักษณะการเดินที่ถูกต้อง ก่อนยกเท้าหลังจากพื้นเท้าหน้านำ ต้องสัมผัสพื้นก่อนด้วยส้นเท้า
เมื่อเท้าหน้านำ สัมผัสพื้นแล้วต้องตึงชั่วขณะจนกว่าจะอยู่แนวตั้งฉากกับลำตัว




กติกาการแข่งขันประเภทรวม
ชาย (ปัญจกรีฑา,ทศกรีฑา)
1. ปัญจกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 5 ประเภท โดยทำการแข่งขันวันเดียวดังนี้
กระโดดไกล,พุ่งแหลน,วิ่ง 200ม.,ขว้างจักรและวิ่ง 1,500 ม.
2. ทศกรีฑา 10 ประเภท จัดทำการแข่งขัน 2 วันติดต่อกัน
วันแรก วิ่ง 100ม.,กระโดดไกล,ทุ่มน้ำหนัก,กระโดดสูง,วิ่ง 400 ม.
วันที่สอง วิ่งข้ามรั้ว 110 ม.,ขว้างจักร,กระโดดค้ำ,พุ่งแหลน,วิ่ง 1,500 ม.

หญิง (สัตตกรีฑา)
มีการแข่งขัน 5 ประเภท แข่ง 2 วันโดยมีดังนี้
วันแรก วิ่งข้ามรั้ว 100ม.,กระโดดสูง,ทุ่มน้ำหนัก,วิ่ง 800ม.

ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถทำคะแนนสูงสุดในการแข่งขัน
ถ้าไม่เข้าแข่งขันหรือไม่ทำการประลองแม้แต่ครั้งเดียวให้ถือว่าเลิกการแข่งขัน

ข้อมูลจากเว็บ : กติกาGreetha

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น